การเลือกใช้ สกุลไฟล์ให้เหมาะสมกับงาน
JPEG (.jpg, .jpeg)
- นามสกุลไฟล์ภาพยอดนิยม เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เก็บง่าย แชร์สะดวก
- ข้อจำกัด: ไฟล์ภาพประเภทนี้ใช้วิธีการบีบอัดข้อมูล อาจส่งผลต่อความคมชัดของภาพ และไม่รองรับภาพพื้นหลังโปร่งใส
2. PNG (.png)
- เหมาะสำหรับงานกราฟฟิกที่ต้องการความคมชัดสูง เก็บรายละเอียดครบถ้วน รองรับภาพพื้นหลังโปร่งใส
- ข้อจำกัด: ไฟล์ภาพประเภทนี้มีขนาดใหญ่กว่า JPEG และโปรแกรมเก่าบางโปรแกรมอาจไม่รองรับ
3. GIF (.gif)
- เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ แอนิเมชั่น มีม อีโมจิ
- ข้อจำกัด: รองรับสีสันน้อยกว่า JPEG และ PNG ความละเอียดภาพอาจจะไม่คมชัดเท่า
4. BMP (.bmp)
- เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูง เก็บรายละเอียดภาพครบถ้วน
- ข้อจำกัด: ไฟล์ภาพประเภทนี้มีขนาดใหญ่ โหลดนาน จัดเก็บยาก
5. TIFF (.tif, .tiff)
- เหมาะสำหรับงานกราฟฟิกที่ต้องการแก้ไขหลายชั้น เก็บรายละเอียดภาพครบถ้วน
- ข้อจำกัด: ไฟล์ภาพประเภทนี้มีขนาดใหญ่ คล้ายกับ BMP
6. PSD (.psd)
- เหมาะสำหรับงานกราฟฟิกที่ต้องการแก้ไขหลายชั้น สามารถใช้งานได้เฉพาะโปรแกรม Photoshop เท่านั้น
- ข้อจำกัด: โปรแกรมทั่วไปไม่สามารถเปิดหรือแก้ไขไฟล์ประเภทนี้ได้
7. SVG (.svg)
- เหมาะสำหรับโลโก้ ไอคอน กราฟฟิกที่ต้องการความคมชัด สามารถปรับขนาดได้โดยไม่แตก
- ข้อจำกัด: โปรแกรมทั่วไปบางตัวอาจไม่รองรับการดูหรือแก้ไขไฟล์ประเภทนี้
8. RAW (.raw)
- เหมาะสำหรับงานถ่ายภาพ เก็บข้อมูลจากกล้องสดๆ เพื่อนำมาแก้ไขภาพหลังถ่าย
- ข้อจำกัด: ไฟล์ภาพประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการเปิดและแก้ไข โปรแกรมทั่วไปไม่สามารถเปิดหรือแก้ไขไฟล์ประเภทนี้ได้
ทั้งนี้ ยังมีนามสกุลไฟล์ภาพประเภทอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่แนะนำไปข้างต้นเป็นนามสกุลไฟล์ที่พบเห็นและใช้งานกันบ่อยๆ
ผู้ใช้ควรพิจารณารายละเอียดของงาน ข้อดีและข้อเสียของแต่ละนามสกุลไฟล์ รวมถึงโปรแกรมที่ใช้งาน ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้งานไฟล์ภาพให้เหมาะสม